วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธ์การจัดพอร์ตอย่างเซียน

บทความโดย CHARTCHAI MADMAN จาก thaivi.com


  การจะลงทุนในหุ้นให้ประสบความสำเร็จนั้นนอกจากการวิเคราะห์เป็นรายตัวแล้ว การจัดพอร์ตให้มีความสมดุลก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะบ่งชี้ถึงผลตอบแทนโดย รวมว่าจะมากน้อยเพียงใด หรือหากเกิดความผันผวนขึ้น ความสมดุลของพอร์ตจะเป็นเกราะกำบังอีกประการหนึ่งให้นักลงทุนไม่เสียหายมาก
 แนวความคิดเรื่องการจัดพอร์ตนั้นมีหลายแนวความคิดครับ แต่โดยหลักก็คือ
1)หลักการกระจาย คือการลงทุนกระจายไปหุ้นหลายๆตัว ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม(หรือหลักการใส่ไข่ไว้ในหลายๆตะกร้า) เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ต ในขณะเดียวกันผลตอบแทนโดยรวมอาจจะต่ำกว่าการลงทุนแบบโฟกัส
2)โฟกัสคือการเน้นการลงทุนในหุ้นน้อยตัวนักลงทุนคัด สรรมาแล้ว การใช้กลยุทธ์นี้จะพบความผันผวนของพอร์ตได้มากกว่า ความเสี่ยงมากกว่า แต่ผลตอบแทนก็จะสูงตามไปด้วย
 เคยมีการศึกษาเพื่อทดสอบเรื่องจำนวนหุ้นในพอร์ต ที่ศึกษาเรื่องระดับผลตอบแทนและความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยชิคาโก (professors Lawrence Fisher และ James Lorie)โดยการจัดพอร์ตที่มีหุ้นตั้งแต่1ตัว ถึงพอร์ตที่มีหุ้น500 ตัวครับ ผลที่ออกมาก็คือ
***การเพิ่มจำนวนหุ้นในพอร์ตทำให้ความเสี่ยงลดลง แต่ประโยชน์นี้จะหมดลงอย่างรวดเร็ว หากจำนวนหุ้นในพอร์ตมากเกินกว่า16ตัว***
มีการศึกษาอีก paper หนึ่ง ( John Wiley & son)  พบว่า
***นักลงทุนสามารถกระจายความเสียงได้85% ด้วยการมีหุ้นจำนวน15ตัว และ หากมีหุ้นในพอร์ตจำนวน30ตัวจะกระจายความเสี่ยงได้95%
 สรุปโดยรวม การจัดพอร์ตทั้งสองแบบก็จะมีผลได้ผลเสียแตกต่างกันไป แล้วบรรดาเซียนในเรื่องการลงทุนละ แต่ละท่านมีกลยุทธ์ในการจัดพอร์ตอย่างไร




กลยุทธ์การจัดพอร์ตของ ดร.นิเวศน์ เซียนหุ้นมูลค่าอันดับหนึ่งของเมืองไทย
 ดร.นิเวศน์กล่าวไว้ในหนังสือตีแตก กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤติ ท่านบอกไว้ว่า ในพอร์ตของท่านมีหุ้นกว่า10ตัว น้ำหนักการลงทุนไม่เท่ากันในแต่ละตัว การให้น้ำหนักจะขึ้นอยู่กับความน่าสนใจของแต่ละตัว หากท่านเห็นว่าตัวไหนให้ผลตอบแทนดีและมั่นใจก็จะให้น้ำหนักตัวนั้นมากหน่อย น่าสนใจแต่ไม่มั่นใจก็จะให้น้ำหนักน้อยหน่อย ท่านจะปรับพอร์ตเสมอเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป  ส่วนใหญ่แล้วจะลงทุนในหุ้นเต็มวงเงินเสมอ

กลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบบัฟเฟตต์ เศรษฐีหุ้นอันดับหนึ่งของโลกการลงทุน
 ส่วนบัฟเฟตต์ซึ่งชำนาญในเรื่องการใช้กลยุทธ์สวนกระแสแบบคัดสรรคือเลือกลง ทุนน้อยตัวแต่ลงหนักเมื่อเจอหุ้นที่ยอดเยี่ยม ท่านเชื่อว่าการกระจายความเสี่ยงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลกับนักลงทุนที่ขาด ความรู้และความเข้าใจเท่านั้น  การกระจายความเสี่ยงจะมีประโยชน์ในกรณีที่จะช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิด จากการไม่รู้ หรือได้รับข้อมูลที่ใช้ตัดสินใจไม่ครบสมบูรณ์ บัฟเฟต์แนะนำว่านักลงทุนควรมีหุ้นเพียง5-10ตัวเท่านั้น  บัฟเฟตต์เมื่อซื้อจะเน้นการถือหุ้นระยะยาว ถือไปเรื่อยๆตราบใดที่พื้นฐานของหุ้นยังไม่แย่ลง


กลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบปีเตอร์ ลินช์
 ลินช์กล่าวว่าประเด็นสำคัญของผลตอบแทนไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นในพอร์ต แต่มันขึ้นอยู่กับการตรวจสอบอย่างดีมากน้อยแค่ไหนของนักลงทุน  มันเป็นเรื่องที่ดีที่จะเป็นเจ้าของหุ้นให้มากที่สุดหากคุณไปเจอสถานการณ์
1)สถานการณ์ที่ได้เปรียบ และ
2)ได้ค้นพบหุ้นที่มีเป้าหมายชัดเจนและน่าตื่นเต้น
 นั่นหมายความว่าหากนักลงทุนมีความเชี่ยวชาญในหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษจริงๆก็ไม่จำเป็นต้องกระจาย
  แต่ก็บอกว่าการถือหุ้นเพียงตัวเดียวเป็นเรื่องเสี่ยงมากเช่นกันหากเกิด เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น ตามความเห็นของ ลินช์ พอร์ตขนาดเล็กควรจะมีหุ้น 3-10 ตัว น่าจะได้ประโยชน์ในแง่มุมต่างๆดังนี้
  1)หากลงทุนในหุ้นโตเร็ว โอกาสจะเจอหุ้น10เด้งมีมากกว่า
  2)ยิ่งมีหุ้นมาก นักลงทุนก็จะความคล่องตัวที่จะสับเปลี่ยนเงินลงทุนระหว่างมัน
  สำหรับพอร์ตของลินช์จะมีลักษณะคร่าวๆดังนี้
  -หุ้นโตเร็ว มีน้ำหนักประมาณ30-40 %
 -หุ้นแข็งแกร่ง มีน้ำหนัก 10-20%
  -หุ้นวัฏจักร มีน้ำหนัก10-20 %
 -หุ้นที่กำลังฟื้นตัวอีกมีน้ำหนัก10-20%

กลยุทธ์การจัดพอร์ตหุ้นของปรมาจารย์ เกรแฮม
 เกรแฮมนั้นเน้นการกระจายความเสี่ยงไปในหุ้นหลายๆตัวโดยเฉพาะหุ้นที่มี ลักษณะ net nets stock  (หุ้นที่มีราคาต่ำกว่า1/3ของมูลค่าทรัพย์สินหมุนเวียนสุทธิ)ในปี1929 พอร์ตของเกรแฮมมีหุ้นอยู่ถึง75ตัว บางช่วงพอร์ตมีหุ้นมากกว่า100ตัว เน้นว่าให้กระจายไปให้มากเพียงพอที่จะกระจายความเสี่ยง แต่ต้องไม่กระจายไปในความเสี่ยงที่มากเกินไป
 
กลยุทธ์การจัดพอร์ตของ ฟิลลิป เอ ฟิชเชอร์ เซียนหุ้นโตเร็วในสไตล์นักสืบ
ฟิชเชอร์แนะนำว่าอย่าเน้นกระจายความเสี่ยงโดยการกระจายการถือหุ้นมากเกินไป อย่าใส่ไข่ในหลายตะกร้ามากเกินไป และอย่าใส่ไข่ในตะกร้าใบเดียวจนไข่ล้นตะกร้าและไม่ได้ดูแลไข่อย่างดีเพียงพอ ต้องคำนึงถึงหุ้นตัวที่ถืออยู่ด้วยเพราะบางบริษัทเป็นลักษณะโฮลดิ้งและ บริษัทเองก็มีการกระจายความเสี่ยงไปในหลายๆธุรกิจแล้ว การกระจายความเสี่ยงต้องดูความทับซ้อนหรือแข่งขันกันของธุรกิจที่จะซื้อหุ้น ด้วย (ความเห็นของผม เขาคงหมายความว่าเช่นหากถือหุ้น ปตท.แล้วก็ไม่ควรกระจายความเสี่ยงโดยการถือหุ้นปิโตรเคมีอีก หรือกรณี ซื้อทั้ง หุ้นของ scc  และ sccc ซึ่งแข่งขันกัน เป็นต้น) ฟิชเช่อร์แนะนำให้แยกแยะกลุ่มบริษัทและการกระจายความเสี่ยงดังนี้
   บริษัทกลุ่ม A ซึ่งเป็นหุ้นที่โตเร็วและเป็นบริษัทใหญ่ที่มีความแข็งแกร่งสูง กระจายแบบตัวละ20 %  ไป5บริษัทที่มีความแตกต่างของสินค้า ก็ดูสมเหตุสมผล
 บริษัทกลุ่ม B ซึ่งเป็นบริษัทมีลักษณะหุ้นบริษัทใหม่โตเร็วและความเสี่ยงสูง ให้ลงตัวละ8-10 % กระจายไปในบริษัทที่มีความแตกต่างกัน
 บริษัทกลุ่มC ซึ่งเป็นบริษัทขนาดเล็กๆ ซึ่งโอกาสอาจได้กำไรมหาศาลและขาดทุนสูญเสียเงินทั้งหมด ควรกระจายความเสี่ยง ไม่เกินตัวละ5% และเงินที่ใช้ลงทุนต้องเป็นเงินเย็นที่สามรถขาดทุนได้ทั้งหมดโดยไม่เดือด ร้อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น