วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธ์การลงทุน กรณีเริ่มต้นเงินทุนน้อยๆ

เขียนโดยคุณ โจ ลูกอีสาน แห่ง thaivi.com
 

ผมมองผ่านภาพใหญ่ 2 ประเด็นคือ

1.ควรจะเพิ่มเงินลงทุนให้มากที่สุด
2.ต้องทำให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนมากที่สุด

ประเด็นแรก ควรจะเพิ่มเงินลงทุนให้มากที่สุด สามารถแยกเป็นภาพย่อยๆได้อีกคือ

1.1 ควรเพิ่มรายได้ เพิ่มจำนวนเงินให้มากที่สุด
1.2 ลดรายจ่ายให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มเงินออม ที่จะนำมาลงทุน

1.1 เพิ่มรายได้ ผม มองในแง่คนทั่วไปที่ทำงานกินเงินเดือนไม่สูงมาก การเพิ่มรายได้สามารถทำได้โดยการหารายได้เสริม การย้ายงานใหม่ การเพิ่มความรู้เพื่อเพิ่มค่าจ้าง การแต่งงานที่คู่ชีวิตมีรายได้ด้วย (ถ้าโชคดีได้แฟนรวยจะดีมาก :) การหยิบยืมเงินจากพ่อแม่หรือญาติในระดับที่หากเสียหายก็ไม่ทำให้เดือดร้อนมาก ที่สำคัญไม่ควรกู้เงินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพื่อมาลงทุน เพราะจะมีแรงกดดันจากที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยตลอดเวลา

กลยุทธ์การจัดพอร์ตอย่างเซียน

บทความโดย CHARTCHAI MADMAN จาก thaivi.com


  การจะลงทุนในหุ้นให้ประสบความสำเร็จนั้นนอกจากการวิเคราะห์เป็นรายตัวแล้ว การจัดพอร์ตให้มีความสมดุลก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะบ่งชี้ถึงผลตอบแทนโดย รวมว่าจะมากน้อยเพียงใด หรือหากเกิดความผันผวนขึ้น ความสมดุลของพอร์ตจะเป็นเกราะกำบังอีกประการหนึ่งให้นักลงทุนไม่เสียหายมาก
 แนวความคิดเรื่องการจัดพอร์ตนั้นมีหลายแนวความคิดครับ แต่โดยหลักก็คือ
1)หลักการกระจาย คือการลงทุนกระจายไปหุ้นหลายๆตัว ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม(หรือหลักการใส่ไข่ไว้ในหลายๆตะกร้า) เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ต ในขณะเดียวกันผลตอบแทนโดยรวมอาจจะต่ำกว่าการลงทุนแบบโฟกัส
2)โฟกัสคือการเน้นการลงทุนในหุ้นน้อยตัวนักลงทุนคัด สรรมาแล้ว การใช้กลยุทธ์นี้จะพบความผันผวนของพอร์ตได้มากกว่า ความเสี่ยงมากกว่า แต่ผลตอบแทนก็จะสูงตามไปด้วย
 เคยมีการศึกษาเพื่อทดสอบเรื่องจำนวนหุ้นในพอร์ต ที่ศึกษาเรื่องระดับผลตอบแทนและความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยชิคาโก (professors Lawrence Fisher และ James Lorie)โดยการจัดพอร์ตที่มีหุ้นตั้งแต่1ตัว ถึงพอร์ตที่มีหุ้น500 ตัวครับ ผลที่ออกมาก็คือ
***การเพิ่มจำนวนหุ้นในพอร์ตทำให้ความเสี่ยงลดลง แต่ประโยชน์นี้จะหมดลงอย่างรวดเร็ว หากจำนวนหุ้นในพอร์ตมากเกินกว่า16ตัว***
มีการศึกษาอีก paper หนึ่ง ( John Wiley & son)  พบว่า
***นักลงทุนสามารถกระจายความเสียงได้85% ด้วยการมีหุ้นจำนวน15ตัว และ หากมีหุ้นในพอร์ตจำนวน30ตัวจะกระจายความเสี่ยงได้95%
 สรุปโดยรวม การจัดพอร์ตทั้งสองแบบก็จะมีผลได้ผลเสียแตกต่างกันไป แล้วบรรดาเซียนในเรื่องการลงทุนละ แต่ละท่านมีกลยุทธ์ในการจัดพอร์ตอย่างไร


วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

วิเคราะห์มูลค่าด้วย DCF หรือด้วยค่า PE?

เขียนโดยคุณ Invisible Hand แห่ง thaivi.com

หลายคนอาจจะสงสัยว่า  VI จำเป็นต้องทำ model การหา valuation ด้วยวิธี DCF  หรือไม่    หากถามผมๆ คิดว่าถ้าทำอาจจะทำให้สบายใจและมั่นใจขึ้นได้แต่คิดว่าไม่จำเป็น     แต่ก่อนที่ผมจะสรุปว่าไม่จำเป็นผมจึงต้องอธิบายที่มาของการคิด DCF  คร่าวๆ  ก่อนครับ

DCF   =  กระแสเงินสดในอนาคตเป็นมูลค่าปัจจุบัน ( Present value )  +  เงินสด ( หนี้สิน ) สุทธิ

การทำมูลค่าในอนาคตให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน  คือ  การ discount   ด้วยอัตราดอกเบี้ย discount rate    โดย discount rate

วิธีค้นหาหุ้นวัฏจักร

เครดิต thaivi.com ครับ

เมื่อก่อนผมใช้วิธีอ่านหนังสือพิมพ์ไปเรื่อยๆ  เคยเจอข่าว  "ค่าระวางเรือสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์"  ข่าวแบบนี้ก็จะช่วยให้เราสะดุดตาและเริ่มให้ความสนใจ

ผมยังเคยเจอข่าว  "วัสดุก่อสร้างขาดตลาดอย่างหนัก  ผู้รับเหมาร้องขอเลื่อนส่งงาน"  ข่าวแบบนี้ก็จะทำให้เราเริ่มสนใจวัสดุก่อสร้าง  เป็นต้น

แต่ปัจจุบันนี้ ผมคิดว่าการใช้วิธีเดิมๆจะค่อนข้างช้า  หมายความว่าเรารู้ตอนที่ใครๆก็รู้  และรู้กันทั้งประเทศแล้ว และราคาหุ้นมักจะปรับตัวกันไปบ้างแล้วแม้บางตัวอาจจะแพงไป บางตัวอาจจะยังถูก  แต่ก็ถือว่าช้าอยู่ดี  ปัจจุบันนี้เราจึงต้องดักหน้าก่อน  พยายามมองให้ออกก่อน  เราถึงจะได้เปรียบแบบมากๆหน่อย